ชื่อพฤกษศาสตร์ Uvaria rufa
วงศ์ ANNONACEAE
ชื่อพื้นเมือง นมควาย (ใต้), นมแมวป่า (เชียงใหม่), บุหงาใหญ่ (เหนือ),หำลิง (ตะวันออกเฉียงเหนือ), ติงตัง (นครราชสีมา) ตีนตั่งเครือ (ศรีสะเกษ อุบล),พีพวน (อุดรธานี), สีม่วน (ชัยภูมิ), Susu ng kalabaw หรือ Carabao teats(ฟิลิปปินส์)
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) มีถิ่นกำเนิดในหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบได้ทุกภาค
ชนิดป่าที่พบ ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด สามารถพบได้ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง หรือตามป่าผลัดใบทั่วไป
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
- ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก
- ผล -ลำต้น เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เนื้อไม้แข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นไปได้ไกล สูง 4 -6 เมตรกิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง
-ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปวงรีหรือรูปไข่ สีเขียวเข้ม ผิวใบมีขนสีน้ำตาลแดงทั้งสองด้าน กว้าง 2.5-3.5 ซม.ยาว 4.5-10 ซม.
-ดอก ดอกสีแดงสดถึงสีแดงเข้ม ออกเป็นช่อ1-4 ดอก ตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ มีขนปกคลุม กลีบดอก 6 กลีบรูปไข่ปลายมน มีขนปรายทั้งสองด้าน ดอกบานขนาด 1.5-2.5 ซม. เกสรผู้ จำนวนมาก วงนอกมักเป็นหมัน รังไข่มี 10 อัน หรือจำนวนมากผลเป็นผลกลุ่ม รูปไข่หรือไข่กลับ ขนาดผลเท่าลูกตำลึง ปกคลุมด้วยขนหนาแน่น ขนาดยาว 2-3 ซม. แต่ละช่อมี 4-20
- ผล เนื้อข้างในผล สีขาวขุ่นหุ้มเม็ดในสีดำไว้ ก้านผลยาว 1-4 ซม. เมล็ด 10-20 เมล็ด เมื่อสุก ผลจะสีแดงสด รสเปรี้ยวๆ
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน จะติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ แก่น และรากต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ สลับไข้ซ้ำ เนื่องจากกินของแสลงรากแก้ผอมแห้งสำหรับสตรีที่อยู่ไฟไม่ได้หลังการคลอดบุตร และช่วยบำรุงน้ำนม ผลผลสุก รสเปรี้ยวๆ รับประทานได้ (ต้องปอกเปลือกออก และทานทั้งเมล็ด เนื่องเนื้อและเมล็ด ติดกัน)เถาเถานมควาย (ภาษาไทยถิ่นใต้ เรียกว่า ย่านนมควาย) มีเนื้อไม้แข็งสามารถนำเถานมควายแห้งมาทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านหรือใช้ในงานจักสานได้
แหล่งอ้างอิง หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “นมควาย”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 122.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น