ชื่อพฤกษศาสตร์ Bambusa Sp.
วงศ์ Gramineae
ชื่อพื้นเมือง ไผ่หวาน ไผ่บงหวาน
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติเขตร้อน ที่อยู่ในเขตอบอุ่นมีน้อย ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบมากที่สุดที่จังหวัดเลย
ชนิดป่าที่พบ ป่าผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ)
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
- ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก
- ผล -ลำต้น เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะกอเป็นพุ่มแน่น ลำอ่อนมีสีเขียวใบไม้ ลำแก่จะมีสีเขียวแก่ ลำต้นมักมีลักษณะคดงอ มีการแตกกิ่งจำนวน 2-5 กิ่งตลอดลำ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 ซ.ม. สูงประมาณ 5-8 เมตร บริเวณเหนือข้อเล็กน้อยจะเห็นเป็นแถบวงแหวนสีขาวรอบลำชัดเจน และมีรากอากาศรอบ ๆ ข้อ ลักษณะที่สังเกตง่ายที่สุด คือ ครีบกาบทั้งสองข้างของกาบหุ้มลำจะมีขนาดไม่เท่ากัน และมีรูปทรงต่างกัน ซึ่งปกติครีบกาบของไผ่ชนิดอื่นจะมีขนาดเท่ากัน หรือเหมือนกัน
-ใบ ไผ่หวานมีใบขนาดกลาง
-ผล เป็นหน่อมีสีเขียวหนักประมาณ 200-300 กรัม
การขยายพันธุ์ แยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกผลตลอดปี
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ ลำต้นใช้เป็นเชื้อเพลิง หน่อมีรสหวานอร่อย สามารถรับประทานสดได้ และนิยมนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
แหล่งอ้างอิง โกวิทย์ สมบุญ และคณะ. การปลูกและการจัดการไผ่. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 56 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น