วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ต้นจำปา


ชื่อพฤกษศาสตร์ Michelia champaca Linn.
วงศ์ MAGNOLIACEAE
ชื่อพื้นเมือง จัมปา จำปากอ (มลายู ภาคใต้) จำปาเขา (ตรัง) จำปาทอง (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี) มณฑาดอย
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) จีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ชนิดป่าที่พบ ในป่าดิบ
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล -ต้น  เป็นไม้ยืนต้นลำต้นขนาดกลาง ลำต้นกลมสูงประมาณ 20 ฟุตมีสีน้ำตาลปนขาวเล็กน้อย  กิ่งเปราะ เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ยอดอ่อนมีหูใบหุ้ม ลำต้นและกิ่งมีเส้นควั่นเป็นรอย และมีตุ่มเล็กๆ
 - ใบ  ใบสีเขียวใหญ่เป็นมัน เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ถึงรูปใบหอก กว้าง 4–10 ซม. ยาว 5–20 ซม.  ปลายใบแหลม  ใบกว้างประมาณ 5 นิ้ว  ยาวประมาณ 10 นิ้ว โคนใบกลม มน หรือสอบ เส้นแขนงใบ 16–20 คู่ ก้านใบยาว 2–4 ซม. ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ท้องใบมีขนอ่อนด้านล่าง
 - ดอก  ดอกเป็นดอกเดียว มีขนาดใหญ่กว่าดอกจำปี มีสีเหลืองอมส้ม ออกตามง่ามใบ กลีบดอกยาว มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกรวมกัน 12–15 กลีบ กลีบด้านนอกรูปหอกกลับ ยาว 4–4.5 ซม. กว้าง 1–1.5 ซม. ปลายเรียวแหลม กลีบดอกชั้นในสั้นและแคบกว่าชั้นนอก เกสรเพศผู้มีจำนวนมากมีขนาดใหญ่กว่าดอกจำปี มีสีเหลืองอมส้ม รังไข่รวมกันเป็นแท่งสีเขียวอ่อน ยอดแหลมคล้ายฝักข้าวโพดเล็กๆ ก้านดอกยาว 1–2 ซม. เวลาบานกลีบใหญ่โค้งงอเข้าภายในดอก ไม่บานกระจายแบบดอกจำปี
  - ฝัก/ผล  รูปรี หรือรูปไข่ เปลือกแข็ง ขนาดยาว 1–2 ซม. ออกเป็นกลุ่ม เปลือกผลมีจุดสีขาวขรุขระโดยรอบ ผลแก่สีน้ำตาล แตกด้านข้าง
   -เมล็ด  เมล็ดสีดำ ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะมีมากช่วงต้นฤดูฝน
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ นิยมปลูกเป็นไม้ดอก ไม้ประดับ ประเภทดอกหอมสวยงาม และเป็นไม้ให้ร่มเงาในสนามได้ดีมากต้นหนึ่ง
แหล่งอ้างอิง วรารัตน์.  (2548).  พรรณไม้งามประจำเรือน.  กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือ 19 จำกัด.

ต้นมะหวดป่า


ชื่อพฤกษศาสตร์ Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.
วงศ์ เงาะ (SAPINDACEAE)
ชื่อพื้นเมือง หวดฆ่า หวดค่า (อุดรธานี), สีฮอกน้อย หวดลาว (ภาคเหนือ), มะหวดป่า หวดคา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หวดเหล้า (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ, คนเมือง), กำซำ กะซ่ำ มะหวด (ภาคกลาง), ชันรู มะหวดบาท มะหวดลิง (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), กำจำ นำซำ มะจำ หมากจำ (ภาคใต้),
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด ชอบดินทุกชนิดที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดจัด
ชนิดป่าที่พบ ตามป่าผลัดใบ ริมลำธาร ชายป่าชื้น ชายป่าดิบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และพื้นที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 300-1,200 เมตร
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล -ลำต้น จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตรและสูงได้ถึง 15 เมตร ทรงพุ่มกลมหรือเป็นรูปไข่ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งแขนงเป็นรูปทรงกระบอกเป็นร่อง ที่กิ่งก้านมีขนละเอียด เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีขนสั้น ๆ
-ใบ   เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ แก่นกลางใบประกอบยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 3-6 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-11 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-30 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างมีสีอ่อนกว่า ผิวใบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียวและย่นเป็นรอย ส่วนใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมเขียว
-ดอก เป็นสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงตั้ง จากปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายยอด มีความยาวถึง 50 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีขาวมีขนาดเล็กและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร มีกลีบดอก 4-5 กลีบ เกลี้ยงหรือมีขน กลีบดอกเป็นสีขาว โคนกลีบแคบ มีขนและมีเกล็ดเล็ก 1 เกล็ด ที่มีสันนูน 2 สัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 ก้าน ก้านเกสรมีขนสีน้ำตาลอ่อน ๆ ส่วนก้านเกสรเพศเมียยาวและไม่มีขน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปครึ่งวงกลม กลีบนอก 2 กลีบจะเล็กกว่ากลีบในและมีขนที่ด้านนอก
-ผล  เป็นผลสดแบบมีเนื้อ ลักษณะของผลเป็นรูปรีเว้าเป็นพู ผิวผลเกลี้ยง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ผลมีพู 2 พู ผิวเกลี้ยงเปลือกและเนื้อบาง ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำเมื่อแก่จัด เนื้อผลฉ่ำน้ำมีรสหวานใช้รับประทานได้ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลดำเป็นมัน 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดมะหวดเป็นรูปทรงรีแกมรูปขอบขนาน


การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการทำกิ่งตอน
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม และจะติดผลใช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ -เนื้อผลมะหวดฉ่ำน้ำ ผลสุกมีรสจืดฝาดถึงหวาน ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้
-ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยจะรับประทานเป็นผักสด ต้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือใช้ใส่ในแกงผักรวม ใส่ปลาย่าง ฯลฯ และชาวบ้านยังนำมาใช้รองพื้นหรือคลุมข้าวที่จะใช้ทำขนมจีนเพื่อช่วยกันบูดได้อีกด้วย
-เนื้อไม้มะหวดสามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำไม้ฟืน หรือใช้ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตรได้
แหล่งอ้างอิง หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “มะหวด (Ma Huat)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 239.


ต้นวาสนา


ชื่อพฤกษศาสตร์ Dracaena fragrans (L.) Ker-GawI
วงศ์ AGAVACEAE
ชื่อพื้นเมือง ประเดหวี มังกรหยก (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) ไม้พุ่ม สูง 5-10 ม. ลำต้นกลมจะไม่มีกิ่งก้านสาขา แต่จะมีข้อติดๆ กัน
ชนิดป่าที่พบ
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล -ต้น  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 4-10 เมตร ลำต้นกลม ต้นตรง ไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นเป็นข้อถี่ ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล
   - ใบ  เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากลำต้นส่วนยอดเรียงซ้อนกันเวียนรอบลำต้นเป็นรูปวงกลมลักษณะใบเรียวยาว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันสีเขียว ตัวใบโค้งงอ ขนาดใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร
    -ดอก  ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้นช่อดอกมีขนาดใหญ่เป็นรูปทรงกลมช่อดอกยาวดอกมีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกลุ่มดอกมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน
การขยายพันธุ์ การปักชำยอด
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือน พฤศจิกายน - มกราคม
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ -    ไม้ประดับ
 -    สมุนไพร ใบ แก้ปวดท้อง ราก บรรเทาอาการปวดในการคลอดบุตร

แหล่งอ้างอิง ศุภสรา.  (2553).  พันธุ์ไม้มงคลให้โชคเพิ่มลาภ.  กรุงเทพฯ: บ้านธรรมะ.

ต้นนมควาย


ชื่อพฤกษศาสตร์ Uvaria rufa
วงศ์ ANNONACEAE
ชื่อพื้นเมือง นมควาย (ใต้), นมแมวป่า (เชียงใหม่), บุหงาใหญ่ (เหนือ),หำลิง (ตะวันออกเฉียงเหนือ), ติงตัง (นครราชสีมา) ตีนตั่งเครือ (ศรีสะเกษ อุบล),พีพวน (อุดรธานี), สีม่วน (ชัยภูมิ), Susu ng kalabaw หรือ Carabao teats(ฟิลิปปินส์)
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) มีถิ่นกำเนิดในหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบได้ทุกภาค
ชนิดป่าที่พบ ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด สามารถพบได้ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง หรือตามป่าผลัดใบทั่วไป
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล -ลำต้น  เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เนื้อไม้แข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นไปได้ไกล สูง 4 -6 เมตรกิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง
-ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปวงรีหรือรูปไข่ สีเขียวเข้ม ผิวใบมีขนสีน้ำตาลแดงทั้งสองด้าน กว้าง 2.5-3.5 ซม.ยาว 4.5-10 ซม.
-ดอก  ดอกสีแดงสดถึงสีแดงเข้ม ออกเป็นช่อ1-4 ดอก ตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ มีขนปกคลุม กลีบดอก 6 กลีบรูปไข่ปลายมน มีขนปรายทั้งสองด้าน ดอกบานขนาด 1.5-2.5 ซม. เกสรผู้ จำนวนมาก วงนอกมักเป็นหมัน รังไข่มี 10 อัน หรือจำนวนมากผลเป็นผลกลุ่ม รูปไข่หรือไข่กลับ ขนาดผลเท่าลูกตำลึง ปกคลุมด้วยขนหนาแน่น ขนาดยาว 2-3 ซม. แต่ละช่อมี 4-20
- ผล  เนื้อข้างในผล สีขาวขุ่นหุ้มเม็ดในสีดำไว้ ก้านผลยาว 1-4 ซม. เมล็ด 10-20 เมล็ด เมื่อสุก ผลจะสีแดงสด รสเปรี้ยวๆ
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน  จะติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ แก่น และรากต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ สลับไข้ซ้ำ เนื่องจากกินของแสลงรากแก้ผอมแห้งสำหรับสตรีที่อยู่ไฟไม่ได้หลังการคลอดบุตร และช่วยบำรุงน้ำนม ผลผลสุก รสเปรี้ยวๆ รับประทานได้ (ต้องปอกเปลือกออก และทานทั้งเมล็ด เนื่องเนื้อและเมล็ด ติดกัน)เถาเถานมควาย (ภาษาไทยถิ่นใต้ เรียกว่า ย่านนมควาย) มีเนื้อไม้แข็งสามารถนำเถานมควายแห้งมาทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านหรือใช้ในงานจักสานได้
แหล่งอ้างอิง หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  “นมควาย”.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  หน้า 122.

ต้นไผ่หวาน


ชื่อพฤกษศาสตร์ Bambusa Sp.
วงศ์ Gramineae
ชื่อพื้นเมือง ไผ่หวาน ไผ่บงหวาน
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติเขตร้อน ที่อยู่ในเขตอบอุ่นมีน้อย ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบมากที่สุดที่จังหวัดเลย
ชนิดป่าที่พบ ป่าผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ)
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ
 - ดอก
 - ผล -ลำต้น เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะกอเป็นพุ่มแน่น ลำอ่อนมีสีเขียวใบไม้ ลำแก่จะมีสีเขียวแก่ ลำต้นมักมีลักษณะคดงอ มีการแตกกิ่งจำนวน 2-5 กิ่งตลอดลำ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 ซ.ม. สูงประมาณ 5-8 เมตร บริเวณเหนือข้อเล็กน้อยจะเห็นเป็นแถบวงแหวนสีขาวรอบลำชัดเจน และมีรากอากาศรอบ ๆ ข้อ  ลักษณะที่สังเกตง่ายที่สุด คือ ครีบกาบทั้งสองข้างของกาบหุ้มลำจะมีขนาดไม่เท่ากัน  และมีรูปทรงต่างกัน ซึ่งปกติครีบกาบของไผ่ชนิดอื่นจะมีขนาดเท่ากัน หรือเหมือนกัน
-ใบ  ไผ่หวานมีใบขนาดกลาง
-ผล  เป็นหน่อมีสีเขียวหนักประมาณ  200-300 กรัม
การขยายพันธุ์ แยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกผลตลอดปี
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ ลำต้นใช้เป็นเชื้อเพลิง หน่อมีรสหวานอร่อย สามารถรับประทานสดได้ และนิยมนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
แหล่งอ้างอิง โกวิทย์ สมบุญ และคณะ. การปลูกและการจัดการไผ่. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 56 น.

ต้นจำปา

ชื่อพฤกษศาสตร์ Michelia champaca Linn. วงศ์ MAGNOLIACEAE ชื่อพื้นเมือง จัมปา จำปากอ (มลายู ภาคใต้) จำปาเขา (ตรัง) จำปาทอง (นครศรีธรร...